วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นิทานพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์




ความเป็นมาของนิทานพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ การรู้ค่ารู้จำนวน 1-5

นิทาน นับได้ว่าเป็นอาหารสมองสุดโปรดปรานของเด็กทุกคน แต่ทักษะคณิตศาสตร์อาจเป็นยาขมสำหรับเด็กบางคน ทำอย่างไรที่จะทำให้เด็กมีทัศนคติต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ว่าไม่ได้เป็นยาขม แต่เป็นขนมสำหรับสติปัญญา วิธีการส่งเสริมและพัฒนาจึงต้องเป็นวิธีการที่เด็กชอบและสนใจ
นิทานจึงเป็นเครื่องมือที่ครูปฐมวัยหยิบยกมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล ที่ช่วยทำให้ผู้เรียนสนุกไปกับการเรียนรู้ การมองภาพ นับภาพ ทำให้เด็กเกิดประสบการณ์จากการมองเห็น และจะถูกบันทึกเป็นฐานข้อมูลไว้ในสมอง ซึ่งประเด็นที่สำคัญประการหนึ่งของการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาตร์ให้เด็กปฐมวัย ต้องเริ่มต้นจากง่ายไปหายาก เปรียบเสมือนการขึ้นบันได ต้องเริ่มจากขั้นตำไปสู่ขั้นที่สูงขึ้น
นิทานที่นำเสนอนี้เป็นส่วนหนึ่งในชุดกิจกรรม BBL Brain Based learning พัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์การรู้ค่าจำนวน 1-5 ที่จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาผู้เรียนในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1





นิทานเรื่อง คุณหนึ่งชวนนับ

(ผู้แต่ง นาถศจี สงค์อินทร์)

สวัสดีเด็กดี น่ารัก คุณเลขหนึ่งทายทัก จำฉันได้ไหม


เลขหนึ่งมีจำนวนเท่าใด นั่นยังไงหนูลองนับดู1



กระต่าย 1 ตัวกินผัก
ช้างน้อยน่ารัก 1 ตัวกินกล้วย
ปลาแสนสวย 1 ตัวว่ายมา
หึ่ง หึ่ง บนฟ้า ผึ้งน้อย 1 ตัว




เลขหนึ่งมีจำนวนหนึ่ง ถ้าหนูนับหนึ่งหนูต้องรู้ค่า


นับหนึ่งชู 1 นิ้วขึ้นมา ใครทำได้มารับดาว 1 ดวง



การเตรียมความพร้อมด้านทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย เป็นสิ่งสำคัญที่ครู
ผู้สอนต้องจัดประสบการณ์ให้กับเด็ก
เนื่องจากเป็นวิชาบังคับที่เด็กต้องเรียนรู้ในระดับประถมศึกษา ธรรมชาติของการเรียนรู้ทักษะคณิตศาสตร์ ต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนจากง่ายไปสู่ยาก โดยเฉพาะการเรียนรู้เรื่องจำนวน หากเด็กยังไม่เข้าใจความหมายของจำนวน เด็กก็ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะอื่นๆที่ซับซ้อนขึ้น เช่น การบวก ลบ ต่อไปได้ ดังนั้นการพัฒนาทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยให้รู้ค่ารู้จำนวน จึงเป็นสิ่งที่ครูจะละเลยไม่ได้ สิ่งที่ครูต้องตระหนักอย่างมากประการหนึ่งคือ จะใช้นวัตกรรมหรือวิธีการใดที่จะทำให้เด็กเกิดทักษะคณิตศาสตร์ได้อย่างเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ขั้นตอนแรกเด็กต้องเรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ให้เด็กได้หยิบจับ นับสิ่งของรอบๆตัว และต้องทำซ้ำๆสม่ำเสมอ เมื่อเด็กเริ่มเรียนรู้จำนวนโดยการสัมผัสของจริงแล้ว ก็สามารถเริ่มให้เด็กได้ฝึกทักษะในรูปแบบที่เป็นนามธรรมได้บ้าง เช่น การใช้ภาพเป็นสื่อแทนของจริง






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น